ที่มา : *กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ

โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ณ เดือนมกราคม-มีนาคม 2561

          ภาพรวมโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ณ เดือนมกราคม-มีนาคม 2561 พบว่า มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ(ใหม่) มีจำนวน 30 โรงงาน เงินลงทุนรวม 888.2 ล้านบาท และคนงานรวม 1,704 คน โดยประเภทโรงงานที่มีการประกอบกิจการ(ใหม่) สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 10 โรงงาน รองลงมาคือ โรงงานถักผ้า จำนวน 5 โรงงาน และโรงงานทำแผ่นเส้นใย จำนวน 3 โรงงาน และอื่น ๆ จำนวน 12 โรงงาน ในขณะที่โรงงานที่ขยายกิจการ มีจำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 6.7 ล้านบาท ได้แก่ โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561

ที่มา : *กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561 มีจำนวนรวม 4,804 โรงงาน จำแนกเป็นโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) สะสมจำนวน 30 โรงงาน และมีจำนวนโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) สะสมจำนวน 15 โรงงาน

ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561

ที่มา : *กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 2 พบว่า ภาพรวมจำนวนแรงงานสะสมในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการกิจการ (ใหม่) จำนวน 1,704 ราย จำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบของโรงงานที่ขยายกิจการ จำนวน 55 ราย และจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) จำนวน 2,898 ราย

ทั้งนี้ ภาพรวมโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาส 1/2560 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2561) มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) มีจำนวน 30 โรงงาน เงินลงทุน 888.2 ล้านบาท และคนงานรวม 1,704 คน ประกอบด้วย
               โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 10 โรงงาน
               โรงงานถักผ้า จำนวน 5 โรงงาน
               โรงงานทำแผ่นเส้นใย จำนวน 3 โรงงาน
               โรงงานเส้นใยและปั่นด้าย เคหะสิ่งทอ เชือกและทอกระสอบ ประเภทละ 2 โรงงาน
               โรงงานทอผ้า พิมพ์ผ้า เคหะสิ่งทอ(ผ้าใบ,เต็นท์) ตาข่าย-แห-อวน ทำด้าย-ผ้าใบ-ยางนอก-ล้อเลื่อน และทำหมวก ประเภทละ 1 โรงงาน

ในขณะที่ภาพรวมโรงงานที่ได้รับการขยายกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุน 6.7 ล้านบาท และคนงานรวม 55 คน ได้แก่ โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป
และภาพรวมโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) ในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวน 15 โรงงาน เงินลงทุน 820.2 ล้านบาท และคนงานรวม 2,898 คน ประกอบด้วย
               โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 4 โรงงาน
               โรงงานพิมพ์ผ้า จำนวน 3 โรงงาน
               โรงงานเส้นใยและปั่นด้าย ฟอกย้อม และปักลวดลาย ประเภทละ 2 โรงงาน
               โรงงานทำแผ่นเส้นใย และการผลิตซึ่งมิได้ทำด้วยวิธีถัก/ทอ (ทำเส้นใยที่ไม่ได้ใช้แล้ว) ประเภทละ 1 โรงงาน

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ เครื่องนุ่งห่มของไทยนั้น ได้ มีการผลิต ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ ถึง 4 ประเภท โพลีเอสเตอร์ ไนลอน อะครีลิก  เรยอน โดยที่ เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เป็น วัตถุดิบสำคัญ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ มีกำลังการผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 79.2 ของกำลังการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ทั้งหมด 

เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์

โพลีเอสเตอร์ ( Polyester ) (โพลิเอทิลีนเทเรฟหาเลต , Polyethylene Terephthalate, PET, PETE ) เป็น หนึ่งในประเภทของพลาสติก ( พอลิเมอร์ )  ขวด PET เป็นภาชนะที่คิดค้นขึ้นใหม่ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาและได้ขยายส่วนแบ่งการตลาดในหมู่ภาชนะบรรจุสำหรับอาหารและเครื่องดื่มข้อดีของ PET คือ ความโปร่งใสความสามารถในการรักษาสภาพของเครื่องดื่มอัดลมเหนียวน้าหนักเบา ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคว่ามีความปลอดภัยต่อสุขภาพ

การเข้าสู่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มของขวด PET ก่อให้เกิดการขยายตัวในการใช้ภาชนะบรรจุใช้แล้วทิ้งอย่างรวดเร็วในเวลาเดียวกันก็เพิ่มการสกัดของเมล็ดพลาสติกและยังนำสู่การผลิตขยะจำนวนมากของขยะมูลฝอย เช่นกัน สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใยสังเคราะห์ สำหรับการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า เสื้อกันหนาว พรม ใยสังเคราะห์เพื่อสำหรับยัดหมอน  เส้นใยสังเคราะห์ที่ได้เกิด จากปฏิกิริยา Polymerization ของ Dihydric alcohol และ Dicarboxylic acid ดังตัวอย่างปฏิกิริยา ที่เกิดจากการใช้ Ethylene glycol และ Terephthatic acid

การรวมกันของสารเคมีดังกล่าว ในกระบวนการผลิต (Polymer repeat unit) ประมาณ 80-100 หน่วย จึงจะทำให้ได้ โพลิเอสเตอร์ ที่ทำเป็นเส้นใย เมื่อต้องการทำให้เป็นเส้นใยก็จะต้องนำไปหลอมเหลว แล้วกดผ่านแว่น Spinnerette เส้นใยที่กดออก มากระทบอากาศก็จะแข็งตัว จากนั้นก็นำไปดึงยืดเพื่อให้เส้นใยมีความเหนียวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
                โพลีเอสเตอร์ (Polyester) เป็น รูปแบบ เอทเทอร์ลีนไกลคอล และ กรดเทอเลฟทลิก ซึ่งได้จาก กระบวนการปิโตรเคมี ดังนั้นเส้นใยชนิดนี้จึงมีราคาสูงตามสภาวะของน้ำมันดิบโลกที่มีการปรับตัวขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง  จึงทำให้วัตถุดิบที่สามารถผลิตในประเทศไทย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และ มีการขาดแคลน จึงได้มีการนำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ โดยประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบเส้นใยโพลีเอสเตอร์จากแหล่งต่างๆ ได้แก่ ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย เส้นใยสังเคราะห์ โพลีเอสเตอร์ (วิจารณ์ โภชนกุล 2549: 115) พลาสติกชนิดนี้เป็น หนึ่งในหลายชนิด ที่มีอัตราส่วนเพียงร้อยละ 7 ของพลาสติกที่มีใช้อยู่ทั้งหมด

การใช่ โพลีเอสเตอร์ (Polyester) ที่ได้จากการ รีไซเคิล นั้น ต้องทำการเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็น เม็ดพลาสติกที่พร้อมนำมาหลอมเหลว เพื่อเป็น ส่วนประกอบบางส่วนของวัตถุดิบ ในการผลิต เส้นใยสังเคราะห์

อ้างอิง                        

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.(2561.). โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ณ เดือนมกราคม-มีนาคม 2561. เมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.251.1.0.html

วิจารณ์ โภชนกุล.(ม.ป.ป.). การประกอบธุรกิจโรงงานหีบผ้าย และกรณีศึกษา การให้คำ ปรึกษาโรงงานหีบฝ้าย. เมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://library.dip.go.th/multim5/ebook/DIP%20%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%AD14%20%E0%B8%8182.pdf

การวิเคราะห์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมรีไซเคิลในประเทศไทย